หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านพร้าว ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 

 
 
 
 
     
 


 
การจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร  
 


Knowloege  Management              
แผนจัดการความรู้ในองค์กร











องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก



สำนักปลัด อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
www.banphraow.go.th






บทนำ

               จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจกรรมบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ กำหนดในส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในองค์กร เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งความรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
                เพื่อให้การปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมีวิธีการบริหารที่ดี จึงได้นำการจัดองค์ความรู้  (knowledge Management) ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการที่สามารถกำหนดขึ้น และนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทางองค์กรได้จัดวางกระบวนการจัดการความรู้และแผนการดำเนินงานการจัดองค์ความรู้



        สำนักปลัด  อบต.บ้านพร้าว






















-1-

๑. คณะทำงาน
๑. นายมาก    ชมมี   นายก อบต.บ้านพร้าว      ประธานธรรมการ
๒. นางสาวปุญพิมญชุ์  พรศิริโภคสกุล   ปลัด อบต.บ้านพร้าว กรรมการ
๓. นายถกล    กล่ำน้อย   ผู้อำนวยการกองช่าง กรรมการ
๔. นางสาววดี           แสนแทน   ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ
๕. นางสาวสัจจพร    มาสอน           หัวหน้าสำนักปลัด กรรมการ
๖. นางสาวโอปอ   แก้วเชียงทอง   นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  กรรมการ
7.  นางวาลุนี    สิงห์รอ           นักทรัพยากรบุคลชำนาญการ   เลขานุการ
คณะทำงานมีหน้าที่ดังนี้
๑. ดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดความรู้ในองค์กรของ อบต.บ้านพร้าว
๒. จัดทำแผนจัดความรู้ในองค์กร
๓. ดำเนินการและติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนงาน
๔. พัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม

๒. ขอบเขต KM (KM Focus Areas)
กรอบการประเมินด้านการจัดการความรู้ซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ กำหนดให้ส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในองค์กร เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสมารถประมวลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา  ดังนั้น
ขอบเขต KM (KM Focus Area ) ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด ประกอบด้วย
๑. ส่งเสริมการนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาบุคลากร และให้เป็นส่วนหนึ่งของการ
ปฏิบัติงาน
๒. เสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการนำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากร
และพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบล

๓. เป้าหมาย KM (Desired State)
• เป้าหมาย KM (Desired State) ทั้งหมด ที่สอดรับกับขอบเขต KM ที่จะเลือกดำเนินการประกอบด้วย
๑).การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ไดรับการพัฒนา ศักยภาพ ความรู้ความสามารถทางด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาต่อ/ ฝึกอบรม/ สัมมนา ในหลักสูตร ต่าง ๆ
๒)การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน/ กิจกรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบล อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
/3).การสนับสนุน...
-2-

๓). การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว   มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แก่เพื่อนร่วมงาน
๔). การสนับสนุนส่งเสริมการยึดหลักคุณธรรมและนิติธรรม ในการบริหารและปฏิบัติงาน
๕). การสนับสนุนส่งเสริมการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

๔ .ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)
                 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)  เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM ที่เลือกทำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์กร คือ
                     ๑).   ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมกิจกรรม
                     ๒).  บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
๓).  คณะกรรมการจัดการความรู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                     ๔).  มีระบบการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

๕ .แนวทางการจัดการความรู้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
         การจัดการความรู้  Knowledge Management
                การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)  คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล  หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี ๒ ประเภท  คือ
                     ๑.  ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ  เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิง วิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
                     ๒.  ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
       การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย ๖ ประการต่อความรู้ ได้แก่
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น            
/โดยที่การ...

-3-

โดย ที่การดำเนินการ ๖ ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicil Knowledge) และ (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดย คนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operration Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
๑).    การสนองตอบ (Responsiveness)  ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้าสนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
๒).   การมีนวัตกรรม (Innovation)  ทั้งที่เป็นวัตกรรมในการทำงาน และวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริกา
๓).   ขีดความสามารถ (Competency)  ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร
๔).   ประสิทธิภาพ (Efficiency)  ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภายสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง

เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ  การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกับสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา  โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน  เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายใน
องค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
๑. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย คืออะไร
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
๒. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษา
ความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
๓. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการ
เก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
๔. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานใช้ภาษาเดียวกัน
ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
๕. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย และสะดวก เช่น ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT)
/6.การแบ่งปัน....
-4-

๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยอาจทำเป็นเอกสารฐานความรู้ เทคโนโลยี
สารสนเทศ จัดทำระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งความรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้  เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง(Change  Management Process)













กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (change Management Process)
เป็นกรอบแนวความคิดแบบหนึ่ง เพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดความรู้ภายในองค์กร ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
๑. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร
,โครงการพื้นฐานขององค์กร ทีม หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีระบบการติดตามและประเมินผล กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
๒. การสื่อสาร เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ ,ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
๓. กระบวนการและเครื่องมือ ช่วยให้การค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวก
รวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ ขึ้นกับชนิดของความรู้ ลักษณะขององค์กร ลักษณะการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร  ทรัพยากร
๔. การเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้
โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ การประเมินผลและปรับปรุง
5.การวัดผล เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีการนำผลของการวัด
มาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหน ได้แก่ วัดระบบ วัดที่ผลลัพธ์ หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ
/6.การยกย่อง...
-5-

6.การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมี
ส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณาได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว บูรณาการกับระบบที่มีอยู่ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา

๖. หัวใจของการจัดการความรู้
มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมขึ้นของคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหน โดยอาจกล่าว่าเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM โดยเริ่มจากฐานข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้ คือ พลัง (DOPA  KM Team)
๑. Knowledge is power : ความรู้คือพลัง
๒. ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างคนด้วยกัน
๓. จุดหมายปลายทางสำคัญ ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ
๔. นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือ ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล

จะเห็นว่า จากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าว พอทำให้มองเห็นหัวใจของ KM  เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือ ความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่างๆดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่า ประโยชน์เป็นรูปธรรมที่ว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นจัดการเลย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ  KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การพัฒนาชุมชนต้องมี ๔ องค์ประกอบ
๑. ชุมชน หมายถึง การอยู่ร่วมกัน ความเป็นชุมชนมีเป้าหมายที่การอยู่ร่วมกัน
๒. เป็นสุข หมายถึง ความเป็นทั้งหมด ความเป็นปรกติ สมดุล บูรณาการ
๓. การเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนนั้นๆ ผ่านการปฏิบัติ
๔. การเสริมสร้าง หมายถึง การเอื้ออำนวย ส่งเสริม ไม่ใช้เข้าไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้











/แผนจัดการ...
-6-

แผนจัดการความรู้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : กระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process)
ชื่อหน่วยงาน : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
เป้าหมาย KM : การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ได้รับการพัฒนา
                  ความรู้ความสามารถด้านต่างๆ เช่น การอบรม /สัมมนา ในหลักสูตรต่างๆ
หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : พนักงานได้รับการพัฒนาด้านความรู้ และการปฏิบัติงาน
ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
๑ การสร้างและ แสวงหาความรู้
-ภายใน อบต.
-ภายนอก อบต. ส่งอบรม / สัมมนา ในหลักสูตรต่างๆ ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนบุคลากรที่เข้ารับการอบรม / สัมมนา บุคลากรได้รับการอบรม / สัมนา หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน
๒ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ -รวบรวมความรู้เป็นหมวดหมู่และจัดทำฐานข้อมูล
-สร้างคลังความรู้ ข้อระเบียบต่างๆ ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนฐานความรู้ด้านต่างๆ บุคลากรในองค์กรมีความรู้เพิ่ม หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน
๓ การประมวลและกลั่นกรองความรู้
-ปรับปรุงรูปแบบเอกสารข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน สมบูรณ์ ปรับปรุงฐานข้อมูลความรู้ของบอร์ดประชาสัมพันธ์/เว็บไซด์ อบต. ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนฐานความรู้ด้านต่างๆ ได้รับการปรับปรุง บุคลากรในองค์กรมีความรู้เพิ่ม หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน
๔ การเข้าถึงความรู้
-บอร์ดประชาสัมพันธ์
-ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร รวบรวมความรู้ติดประกาศ ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนบุคลากรที่เข้าถึงฐานข้อมูล บุคลากรในองค์กรมีความรู้เพิ่ม หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน

-7-

แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : กระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process)
ชื่อหน่วยงาน : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
เป้าหมาย KM : การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ได้รับการพัฒนา
                  ความรู้ความสามารถด้านต่างๆ เช่น การอบรม /สัมมนา ในหลักสูตรต่างๆ
หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : พนักงานได้รับการพัฒนาด้านความรู้ และการปฏิบัติงาน
ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
๕ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
-บอร์ดประชาสัมพันธ์
-แผ่นพับ ให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ เข้าร่วมทำบอร์ดและแผ่นพับ ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนบุคลากรที่แลกเปลี่ยนความรู้ จำนวนครั้งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน
๖ การเรียนรู้
-การสร้างองค์ความรู้
-การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ประชาสัมพันธ์ /ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ปีงบประมาณ ๒๕61 เป็นต้นไป จำนวนบุคลากรที่เรียนรู้ จำนวนครั้งในการเรียนรู้ หัวหน้าส่วนราชการแต่ละส่วน

๗. การติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลแผนการจัดการความรู้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการจัดการความรู้  ประกอบด้วย
๑. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว เป็นประธานกรรมการ
๒. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว เป็นกรรมการ
๓. หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกรรรมการ
๔. ผู้อำนวยการคลัง เป็นกรรมการ
๕. ผู้อำนวยการกองช่าง เป็นกรรมการ
๖. นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เป็นกรรมการ
๗. นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ เป็นกรรมการ/เลขานุการ
ให้คณะกรรมการ ฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง มีหน้าที่กำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผล
แผนการจัดการความรู้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว และดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนการจัดการความรู้ และรายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะที่ได้จากการติดตามและประเมินผลต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง





คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว
ที่ 378/๒๕60
เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนจัดการความรู้ในองค์กร ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61
………………………...............…………………..
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว จะดำเนินการจัดทำแผนจัดการความรู้ในองค์กร ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61  เพื่อให้การปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมีวิธีการบริหารที่ดี จึงได้นำการจัดองค์ความรู้  (knowledge Management) ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการที่สามารถกำหนดขึ้น และนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมจึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนจัดการความรู้ในองค์กร ดังนี้
1. นายมาก         ชมมี นายก อบต.บ้านพร้าว           ประธานธรรมการ
2. นางสาวปุญพิมญชุ์  พรศิริโภคสกุล      ปลัด อบต.บ้านพร้าว กรรมการ
3. นายถกล          กล่ำน้อย            ผู้อำนวยการกองช่าง กรรมการ
4. นางสาววดี            แสนแทน            ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ
5. นางสาวสัจจพร      มาสอน              หัวหน้าสำนักปลัด กรรมการ
6. นางสาวโอปอ  แก้วเชียงทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  กรรมการ
7.  นางวาลุนี    สิงห์รอ           นักทรัพยากรบุคลชำนาญการ            เลขานุการ

ให้คณะกรรมการ ฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง มีหน้าที่กำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนการจัดการความรู้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว และดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนการจัดการความรู้ และรายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะที่ได้จากการติดตามและประเมินผลต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                 สั่ง ณ วันที่  28  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕60

                 
(นายมาก  ชมมี)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว


 

ข่าว ณ. วันที่ 26 ก.ย. 2561 เวลา 10.15 น. โดย คุณ Walunee_Singro

ผู้เข้าชม 1728 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10